now know... "..หากสมองถูกอัดแน่นไปด้วยข้อมูลจากการอ่านและขยะทางความคิด บางสิ่งบางอย่าง ประสบการณ์ ความทรงจำ ความรู้สึกดีๆ อาจจะละลายสาบสูญไปจากสมอง การเขียนถือเป็นการจัดระเบียบความคิด เก็บกวาดแต่งแต้มจินตนาการที่รกร้างกระจัดกระจายให้เป็นที่เป็นทาง .. คงมีใครสักคนที่อาจได้แง่คิดและมุมมองจากการบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ชีวิต ความคิดคำนึง และจินตนาการ ผ่านงานเขียนในแบบฉบับที่ไม่เหมือนใครของคุณก็เป็นได้.."
** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... ** 1/17 ถึง 17/17

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
By: โอ'ณัฐวุฒิ

"อัมพวา"ขาลง.. น้อยคนจะรู้ว่าตลาดน้ำอัมพวาในช่วงวันธรรมดา บรรยากาศช่างเงียบเชียบวังเวง ไร้เงานักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้า เหลือเพียงชาวบ้านอัมพวาเพียงไม่กี่หลังคาเรือนเท่านั้น

"เจ้าของร้านกว่า 80% เป็นคนนอกพื้นที่ทั้งคนกรุงเทพฯ คนราชบุรีนี่เยอะเลย วันจันทร์ถึงพฤหัสเขาก็กลับไปอยู่บ้าน มาเปิดร้านเฉพาะแค่ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ 3 วันเท่านั้น"

ป้าพร วัย 71 เจ้าของร้านขายของชำ ยืนยันว่าการเปิดตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา ส่งผลให้การทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้น

"เมื่อก่อนเงียบมาก ขายได้อย่างเก่งวันละ 1,000 แต่พอมีตลาดน้ำคนมากันเยอะจนหยิบแทบไม่ทัน ช่วงบูมสุดๆสมัยปี 2550 สามวันขายได้เป็นแสน"

ปทุม วียาหาร วัย 63 เพื่อนบ้าน เล่าว่าเมื่อก่อนเธอมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ยากจนถึงขนาดต้องเก็บยอดผักจิ้มน้ำพริกกินแทบทุกมื้อ

"พอตลาดน้ำเปิด ลูกๆก็ยุให้ขายของ พวกน้ำปั่น ไอติมหลอด ขนมจุกจิก รายได้ก็เพิ่มขึ้นมาหน่อย ไม่ถึงกับรวยแต่ก็พออยู่ได้ไม่ลำบากเหมือนเก่า ใครหันมาค้าขายลืมตาอ้าปากกันได้ทั้งนั้น"

ทั้งคู่ยืนยันว่าตลาดน้ำอัมพวากำลังอยู่ในช่วง "ขาลง" เมื่อวัดจากรายได้ที่ตกลงอย่างต่อเนื่อง

"เดี๋ยวนี้คนยังมาเที่ยวเยอะก็จริง แต่กำลังซื้อลดลง เพราะสินค้าเหมือนกันไปหมด ราคาแพงไม่แพ้กรุงเทพฯ นักท่องเที่ยวก็เบื่อ เคยได้ยินเด็กที่เพิ่งมาครั้งแรกพูดว่า "ไม่เห็นจะมีอะไรเลย" อีกอย่างตอนนี้มีตลาดน้ำเปิดใหม่หลายแห่ง เขาเลยแค่มาแวะเดินเที่ยวแป๊บๆแล้วก็ไปต่อที่อื่น"

@ อ่านต่อที่นี่ครับ.. 10ปี"ตลาดน้ำอัมพวา"ถึงเวลาขาลง

สวัสดีครับ ท่านเพื่อนๆของพ่อ ลุง ป้า น้า อา และพี่ๆทุกๆคน

วันนี้วันหยุด ผมเลยมีเวลาว่างนั่งหน้าคอมฯ ก็อยากจะเล่าประสบการณ์ในอดีตเมื่อครั้งแวะไปตลาดน้ำอัมพวาและดอยสุเทพอีกแง่มุมหนึ่งที่ไม่ค่อยจะดีนัก ซึ่งอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงก็เป็นได้

วันก่อน(ปี2554)ภาควิชาคอมฯจัดกิจกรรมพา นศ.ไปปลูกป่าชายเลนถวายพ่อหลวงที่คลองโคนสมุทรสงคราม ขากลับทางผ่านพอดีหิวเลยแวะตลาดน้ำอัมพวาหาอะไรกินรองท้องก่อนกลับกรุงเทพฯ

มองลงไปในคลองเห็นก๋วยเตี๋ยวเรือปักป้ายราคาขายชามละ 15 บาท ผัดไท 20 บาท เพื่อนๆไปด้วยกันเป็นกลุ่ม 20 กว่าคนลงความเห็นอยากกินสั่งขึ้นมา ดูชามใหญ่แต่ก๋วยเตี๋ยวนิดเดียวเท่ากำมือเด็กๆ เอาช้อนตัก 2-3 ทีก็หมดล่ะ ตอนคิดตังค์กลายเป็นก๋วยเตี๋ยวชามละ 25 บาท ผัดไท 30 บาท

ส่วนเพื่อนอีกคนเห็นปลาหมึกย่างตัวเท่าฝ่ามือสั่งมากิน ตอนคิดตังค์ตัวละ 120 เชียว สมุทรสงครามเป็นเมืองใกล้ทะเล บรรดาอาหารทะเลน่าจะถูกกว่านี้ ถ้าซื้อสดๆ 120 นี่ได้ปลาหมึกเป็นกิโล

ได้ยินว่าก่อนหน้านี้เห็นร้องกันระงม บรรดาตลาดน้ำทั้งหลายไม่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปเยี่ยมคงเป็นเพราะสาเหตุนี้หรือเปล่าไม่ทราบได้ นี่ไม่นับตลาดน้ำที่อื่นๆจะเป็นเหมือนที่อัมพวาหรือเปล่า ท่านเพื่อนๆของพ่อ ลุง ป้า น้า อา และพี่ๆทุกๆคน ถ้ามีประสบการณ์ก็เอามาเล่าสู่กันฟังบ้างครับ

ผมว่าไม่ไหวนะครับ คราวหน้าถ้าบังเอิญทางคณะภาควิชาคอมฯพาไปอีก ผมต้องเตรียมห่อข้าวเหนียวกับหมูอบ(จิ๊นเก็ม)ไปด้วย ส่วนน้ำก็ซื้อยกโหลแช่กระติกไปเลย

ก็อยากให้ทุกๆท่านทำอย่างนี้กันมั่ง

อิอิ...ขี้เหนียว...ขี้เหนียว

ประสบการณ์ผมที่นี่อีกที่ครับ เมื่อปีก่อน(2549)ไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ รถตู้พาคณะเราขึ้นดอยไปก่อน ส่วนผมขอแวะทักทายเพื่อนเก่าที่ตลาดต้นลำไยแล้วจะตามไปทีหลัง

ไปขึ้นรถสองแถวที่คิวหน้า มช. ก่อนออกรถคนขับจะเก็บค่าโดยสาร คนอื่นๆเขาจะคะยั้นคะยอเก็บค่าโดยสารขาลงด้วย โดยให้อยู่เที่ยวบนดอยได้ 1-2 ชั่วโมงแล้วรถของเขาจะอยู่รอ อ้างสารพัดว่าขาลงไม่มีรถลงนะ ผู้โดยสารคนอื่นๆกลัวไม่มีรถลงก็จ่ายค่าโดยสารขาลงไปด้วย

พอมาเก็บเงินผม ผมบอกว่ารถของผมขึ้นไปรอบนดอยแล้ว ขอจ่ายแค่ขาขึ้นอย่างเดียว คนขับแสดงสีหน้าไม่ค่อยพอใจแต่ก็ไม่ได้ว่าอะไรผม ตกลงผมจ่ายค่าโดยสารแค่ขาขึ้นอย่างเดียว

พอขึ้นไปถึงบนดอย โอ้โฮ...รถจอดรอรับผู้โดยสารเป็นแถวยาวเหยียด ผมลองเข้าไปสอบถาม พี่รอผู้โดยสารของพี่เหรอครับ คนขับตอบว่าไงรู้ไหม ไม่ได้รอ คุณจะลงก็ขึ้นๆมาเลย แล้วขอเก็บค่าโดยสารด้วย ผมลองแย้งดู อ้าวก็ผมจ่ายค่าโดยสารขาลงแล้วทำไมต้องจ่ายอีก คนขับว่าใครจะจำหน้าได้ล่ะ ยังไงก็ต้องจ่าย เพราะรถทุกๆคันจะเข้าคิว 15 นาทีออกใครจะอยู่รอได้ตั้งชั่วโมง

ผมว่าถ้าเอารัดเอาเปรียบกันอย่างนี้ อีกหน่อยคงไม่มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยว แล้ววันนั้นก็อย่ามาร้องแรกแหกกระเชอก็แล้วกัน

แถมอีกนิดครับ เรื่อง "คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ" ของที่ระลึกฝากเพื่อนๆ แพ็คเก็ตสวยงามทำให้ไม่อยากเปิดดู ระวังถูกหลอกถูกแหกตา ของที่เราซื้อไม่เหมือนตัวอย่างที่เขาวางโชว์.

โอ'ณัฐวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
สิงหาคม 2554

* * * * *

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เส้นทางไปราชบุรี

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
15/17 zrr15 all เส้นทางไปราชบุรี
16/17 อุบลวรรณ พงษ์สวัสดิ์ คุณแม่ผู้ให้กำเนิด Thanawut

เส้นทางไปราชบุรี.. 4ก.ย.2559

จากเขตบางกะปิ สี่แยกลำสาลี ถนนรามคำแหง ผ่าน ม.รามฯ ถึงสี่แยกรามคำแหง เลี้ยวขวา เข้าถนนพระราม 9 ชิดซ้าย ตรงไป เลี้ยวซ้ายป้าย ดินแดง ดาวคะนอง-แจ้งวัฒนะ ตรงไปด่านเก็บเงิน

06:32:25 ด่านเก็บเงินพระราม 9 จ่ายค่าผ่านทาง 25 บาท

06:34:40 อีก 500 เมตร ถึงด่านเก็บเงิน

06:35:10 ด่านเก็บเงินศรีรัช จ่ายค่าผ่านทาง 50 บาท

06:35:46 ตรงไป ดาวคะนอง-แจ้งวัฒนะ

06:36:07 เข้าช่อง ดาวคะนอง-แจ้งวัฒนะ

06:36:22 ตรงไป ดาวคะนอง-แจ้งวัฒนะ

06:37:34 ชิดซ้าย บางโคล่-ดาวคะนอง

06:38:09 เลี้ยวซ้าย บางโคล่-ดาวคะนอง

06:38:48 ตรงไป บางโคล่-บางนา-ดาวคะนอง ผ่าน รพ.รามาธิบดี

06:43:25 เข้าช่อง บางโคล่-ดาวคะนอง

06:43:51 เลี้ยวขวา บางโคล่-ดาวคะนอง

06:44:03 ชิดขวา ดาวคะนอง

06:44:22 ขึ้นสะพานพระราม 9

06:45:36 ลงสะพาน ชิดขวา ดาวคะนอง

06:47:37 ตรงไป สมุทรสาคร

06:48:22 ตรงไป สมุทรสาคร

06:48:42 เลี้ยวซ้าย ผ่าน รพ.บางปะกอก ตรงไป สมุทรสาคร

06:49:15 ทางหมายเลข 35 ตรงไป สมุทรสาคร

06:51:21 ตรงไป สมุทรสาคร

07:04:46 ทางหมายเลข 35 ตรงไป สมุทรสงคราม-เพชรบุรี

07:25:18 ตรงไป เพชรบุรี-ราชบุรี

07:25:42 เข้าช่อง ราชบุรี

07:35:52 ป้าย วนซ้าย ไปราชบุรี

07:36:51 ตรงไป ราชบุรี-นครปฐม

07:37:21 วนซ้าย ตรงไป ราชบุรี

07:39:46 ทางหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ราชบุรี

07:50:47 ชิดซ้าย นครปฐม-กรุงเทพฯ

07:50:58 ชิดซ้าย นครปฐม-กรุงเทพฯ

07:51:07 เข้าช่อง นครปฐม

07:51:13 เลี้ยวซ้าย เข้าถนนเลี่ยงเมืองราชบุรี

07:51:20 เลี้ยวขวา วนลง

07:53:16 เข้าช่อง นครปฐม

07:53:24 เข้าช่อง นครปฐม เลี้ยววนขวา

07:54:07 ตรงไป นครปฐม-กรุงเทพฯ

07:57:54 ชิดซ้าย กลับรถใต้สะพาน

07:58:19 เลี้ยวขวา กลับรถ กลับทางเดิม

07:59:52 เลี้ยวซ้าย เข้าถนน 21 ตัน

08:00:25 เลี้ยวขวา ทางไป วัดอัมพวัน, วัดท่าเรือ

08:03:03 เลี้ยวซ้าย สะพานทาสีฟ้า

08:03:14 เลี้ยวขวา ชุมชนดอนกระเบื้องพัฒนา หมู่ที่ 8 ตำบลพงสวาย

08:05:25 ถึงบ้านพงสวาย ราชบุรี

หมายเหตุ: กรุงเทพฯ ถนนพระราม 9 ถึง ราชบุรี สุทธิใช้เวลา 1 ชั่วโมง 33 นาที (08:05:25 - 06:32:25)

รวมระยะทาง ไป-กลับ 330 ก.ม. ความเร็วไม่เกิน 110 ก.ม./ช.ม. ซดน้ำมัน E20 20 ลิตร เฉลี่ย 16.5 ก.ม./ลิตร พาหนะ All New Honda Jazz SV CVT ปีผลิต 2015

ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
4 กันยายน 2559

* * * * *

ศูนย์ปฏิบัติธรรมสาขาวัดช่องลม 2 สวนผึ้ง ราชบุรี

* * * * *

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เที่ยวอ่างทอง ไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดม่วง

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
13/17 อาทิตย์28สิงหา59 เที่ยวอ่างทอง ไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดม่วง
14/17 FbLive เที่ยวอ่างทอง ไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดม่วง วันอาทิตย์ 28สิงหาคม2559

เที่ยวอ่างทอง ไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดม่วง

"..ถึง จ.อ่างทอง แวะ"วัดต้นสน"กราบพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่"พระศรีเมืองทอง" .. กินก๋วยเตี๋ยวที่ตลาด อิ่มหนำแล้วก็มุ่งหน้าไปวัดม่วงกัน.."

วัดม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 ก.ม. วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ มองเห็นพระพุทธรูปหลวงพ่อใหญ่"พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ"แต่ไกลๆ

ตั้งต้นจาก เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เวลา 09:20 น. ขึ้นทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษก ที่แฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา

เวลา 09:34 น. จ่ายค่าผ่านทาง 30 บาทที่ด่านเก็บเงินธัญบุรี

เวลา 09:48 น. เตรียมชิดซ้าย บางปะอิน อยุธยา

เวลา 09:50 น. ถึง อ.วังน้อย วนลงเข้าถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32)

เวลา 09:51 น. ชิดซ้าย

เวลา 09:53 น. เลี้ยวซ้ายไป นครสวรรค์

เวลา 10:41 น. อ่างทอง ลพบุรี อ.ท่าเรือ ชิดซ้าย

เวลา 10:42 น. เลี้ยวซ้ายไป อ่างทอง

เวลา 10:50 น. ถึง จ.อ่างทอง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง

(ไหว้พระวัดต้นสน.. เวลา 10:52 น. ถึงทางแยกมองเห็นอ่าง 2 ใบตั้งขวางถนนให้ตรงไป ถึงทางแยกจะมองเห็นป้ายชื่อวัดต้นสน ให้เลี้ยวขวา ไปอีกนิดให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัด ไหว้พระศรีเมืองทอง เสร็จแล้วแวะกินก๋วยเตี๋ยวที่ตลาด ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง)

ไปเรื่อยๆ ถึงทางแยกมองเห็นอ่าง 2 ใบตั้งขวางถนนให้เลี้ยวซ้าย ผ่านตลาด เวลา 12:18 น. เลี้ยวขวาทางแยก ผ่านหน้าเรือนจำ เจออีกทางแยกจะเห็นตึกโรงเรียนสตรีอ่างทองขวางหน้า ให้เลี้ยวซ้าย ไปตามความโค้งของถนน (ทางหลวงหมายเลข 3064) สักพักจะเห็นป้าย สุพรรณบุรี ศรชี้เลี้ยวซ้าย

เวลา 12:22 น. ถึงสามแยกไฟแดง จะเห็นป้ายทางหลวงหมายเลข 3195 (ไปสุพรรณบุรี) ให้เลี้ยวซ้ายตามศรชี้

เวลา 12:35 น. ถึงหลัก ก.ม. 29 เลยไปประมาณ 20 เมตร จะเห็นป้ายทางเข้าวัดม่วง เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 ก.ม.

ถึงวัดม่วง เวลา 12:38 น. ภายในวัดกว้างขวาง ไม่ต้องห่วงเรื่องที่จอดรถ สะดวกสบายมากๆ.

หมายเหตุ: กรุงเทพฯถึงวัดม่วง สุทธิใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที + 20 นาที = 1 ชั่วโมง 50 นาที

รวมระยะทาง ไป-กลับ 253 ก.ม. ความเร็วไม่เกิน 110 ก.ม./ช.ม. ซดน้ำมัน E20 14 ลิตร เฉลี่ย 18 ก.ม./ลิตร พาหนะ All New Honda Jazz SV CVT ปีผลิต 2015

ขากลับใช้เส้นทางเดิม แต่ระวังช่วง อ.วังน้อย ตอนออกจากทางหลวงหมายเลข 32 จะขึ้นทางหลวงพิเศษ ให้เลี้ยวซ้ายป้าย บางนา ชลบุรี พัทยา ตามไปเรื่อยๆ จนถึงป้ายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ป้ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณฯ ให้เลี้ยวซ้ายขึ้นทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) จ่ายค่าผ่านทาง 30 บาทที่ด่านเก็บเงินธัญบุรี

เข้ากรุงเทพฯ มาลงที่ แฟชั่นไอส์แลนด์ หรือจะเลยไปลงที่ ถนนเสรีไทย, ถนนรามคำแหง, อ่อนนุช ตามป้ายซึ่งอยู่ถัดๆไป ตามสะดวก.

ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
28 สิงหาคม 2559

โครงการพระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ

พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ ก่อสร้างเป็นคานคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นชั้นๆ แบบโครงสร้างตึกสูง ๓๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนฉาบทาสีทอง ตลอดทั้งองค์

1. หน้าตักกกว้าง( หัวเข่าขวา-หัวเข่าซ้าย)กว้าง ๖๒.๐๐ เมตร
2. ความสูง(จากพื้นดิน-พระเกศา)สูง ๙๓.๐๐ เมตร
3. ช่วงแขน(หัวไหล่-ข้อศอก)ยาว ๒๕.๐๐ เมตร
4. (ข้อศอก-ข้อมือ)ยาว ๓๐.๐๐ เมตร(ข้อมือ-ปลายนิ้ว)
5. ยาว ๑๕.๐๐ เมตร(หน้าอก)กว้าง ๗๕.๖๐ เมตร
6. ใบหน้า(ปลายคาง-หน้าผาก)สูง ๑๒.๐๐ เมตร(จมูก-หน้าผาก)สูง ๙.๕๐ เมตร(ใบหู)สูง ๔.๐๐ เมตร
7. เศียร(พระศอ-พระเกศ (เลาธาตุ) )สูง ๒๖.๕๐ เมตร
8. (พระศอ-พระเมาลี)สูง ๒๔.๐๐ เมตร* พระเกศสูง ๑๓.๐๐ เมตร
9. พระเมาลีสูง ๔.๗๐ เมตร
10. เปลวรัศมีเม็ดพระศกสูง ๑๕.๐๐ เมตร(ประดับเม็ดพระศก ๕๐๖ เม็ด แต่ละเม็ด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๒๐ เมตร)

เริ่มวางศิลาฤกษ์ในวันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๔ (วันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๔) ปีมะเมีย วางศิลาฤกษ์เวลา ๙.๐๐ น. โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณคาราม กทม. ประธานฝ่านสงฆ์ คือ หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ซึ่งเป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้างและหาทุน

หลวงพ่อเกษมได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 สิริอายุได้ 54 ปี 6 เดือน 7 วัน หลวงพ่อเกษมเคยสั่งบอกฝากกับลูกศิษย์ การก่อสร้างองค์พระ ให้ช่วยกันก่อสร้างต่อจากหลวงพ่อ ให้เสร็จ

และหลวงพ่อเกษมได้ตั้งนามองค์พระเอาไว้ว่า "พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" พระนามนี้หลวงพ่อเกษมตั้งใจสร้างองค์พระนี้ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

คณะลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม ได้พร้อมใจรวมพลัง ช่วยกันสร้างร่วมกับ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาด้วย จนการก่อสร้างองค์พระ ได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 มีระยะเวลาการก่อสร้างรวมประมาณ 16 ปี และวัดหน้าตักองค์พระได้ 63.05 เมตร ความสูงจากฐานองค์พระ ถึงยอดเกศา วัดได้ 95 เมตร ใช้เงินประมาณ 104,261,089.65 บาท.

@ พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง

* * * * *

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์ นครสวรรค์

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
11/17 อาทิตย์18กันยา59 เที่ยวนครสวรรค์ ไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์
12/17 ขึ้นเขาลงเขาวัดคีรีวงศ์ นครสวรรค์ อาทิตย์18กันยา59

ไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์ นครสวรรค์

"..เมื่อขึ้นไปถึงฐานพระเจดีย์ชั้น 4 จะมองเห็นภูมิทัศน์อันสวยงามของเมืองนครสวรรค์ในระยะไกลประมาณ 10 กิโลเมตร .. ถ้ามองไปทางทิศตะวันออกจะมองเห็นเขากบ บึงบอระเพ็ด และตลาดปากน้ำโพ .. หากมองไปทางทิศใต้ จะเห็นอุทยานสวรรค์ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ และเขาจอมคีรีนาคพรต .. หันไปทางทิศตะวันตก จะเห็นภูเขาน้อยใหญ่ ทอดตัวตระหง่านอยู่เป็นช่วงๆ โดยมีภูเขาหลวงเป็นฉากกั้น ยามพระอาทิตย์อัสดงจะเป็นภาพที่งดงามชวนให้หลงใหลในภาพที่ธรรมชาติตกแต่งขึ้น.."

มุมสูงพระจุฬามณีเจดีย์วัดคีรีวงศ์

ขึ้นเขาลงเขาวัดคีรีวงศ์ นครสวรรค์ อาทิตย์18กันยา59

เวลา 10:46 น. ตรงไปข้ามสะพานเดชาติวงศ์ สุดเขตภาคกลางเข้าสู่ภาคเหนือ (จุดเริ่มต้นภาคเหนือตอนล่าง)

เวลา 10:47 น. ถึงป้ายใหญ่ (อ.โกรกพระ เลี้ยวซ้าย, จ.พิษณุโลก กำแพงเพชร ตรงไป, จ.นครสวรรค์ เลี้ยวขวา) ให้ตรงไป

เวลา 10:49 น. ผ่านแยกบิ๊กซี จนถึงป้าย (กำแพงเพชร ตาก ตรงไป, พิจิตร พิษณุโลก เลี้ยวขวา)

เวลา 10:50 น. ถึงสามแยกแรก ไม่ต้องเลี้ยวขวาแยกนี้ ให้ตรงไป จนถึงป้าย (กำแพงเพชร ตาก ตรงไป, พิจิตร พิษณุโลก เลี้ยวขวา)

เวลา 10:52 น. ถึงสามแยก เลี้ยวขวา จนถึงป้าย (พิจิตร พิษณุโลก เลี้ยวซ้าย, นครสวรรค์ ตรงไป, กรุงเทพ เลี้ยวขวา)

เวลา 10:54 น. ถึงสี่แยก ตรงไป

เวลา 10:55 น. ผ่านบิ๊กซี ตรงไป จนถึงซอยมาตุลี18 ให้เลี้ยวซ้าย ทางขึ้นเขาวัดคีรีวงศ์

ประวัติวัดคีรีวงศ์

วัดคีรีวงศ์ เดิมเป็นวัดร้างกลางป่าเขาสร้างสมัยปลายกรุงสุโขทัย มีพระธุดงค์แสวงบุญมาพบเมื่อปี 2504 ปัจจุบันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครสวรรค์ มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนาเป็นประจำ

ภายในบริเวณวัดประกอบด้วย พระอุโบสถ สมเด็จพระพุทธโคดมจำลอง ศาลาพุทธานุภาพ วิหารหลวงพ่อโต และพระจุฬามณีเจดีย์ ที่สร้างขึ้นตรงฐานเจดีย์เก่าซึ่งสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 19 ปลายกรุงสุโขทัยเมื่อประมาณ 600 ปีมาแล้ว โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโก) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ และแนะนำให้สร้างพระจุฬามณีเจดีย์ไว้บนยอดเขา

พื้นที่ของวัดคีรีวงศ์ ทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ 280 ไร่ มีลักษณะเป็นภูเขา ด้านเหนือด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีทางเข้าด้าน ทิศใต้ทางเดียว มีลักษณะคล้ายฮวงจุ้ย เดิมชื่อเขาใหญ่ ปัจจุบันชื่อ เขาดาวดึงส์ เพราะตั้งอยู่ ตรงถนนดาวดึงส์และอยู่เมืองนครสวรรค์

วัดคีรีวงศ์ ตั้งอยู่บนเขาดาวดึงส์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีองค์มหาเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คือพระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งเป็นทองเหลืองอร่ามไปทั้งเจดีย์ เมื่อขึ้นไปถึงฐานพระเจดีย์ชั้น 4 จะมองเห็นภูมิทัศน์อันสวยงามของเมืองนครสวรรค์ในระยะไกลประมาณ 10 กิโลเมตร ถ้ามองไปทางทิศตะวันออกจะมองเห็นเขากบ บึงบอระเพ็ด และตลาดปากน้ำโพ หากมองไปทางทิศใต้ จะเห็นอุทยานสวรรค์ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ และเขาจอมคีรีนาคพรต หันไปทางทิศตะวันตก จะเห็นภูเขาน้อยใหญ่ ทอดตัวตระหง่านอยู่เป็นช่วงๆ โดยมีภูเขาหลวงเป็นฉากกั้น ยามพระอาทิตย์อัสดงจะเป็นภาพที่งดงามชวนให้หลงใหลในภาพที่ธรรมชาติตกแต่งขึ้น

ภายในองค์พระเจดีย์ชั้น 4 มีพระพุทธรูปจำลองที่สำคัญของประเทศไทยไว้ให้สักการะบูชา 4 องค์ คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธโสธรจำลอง และพระพุทธรูปหล่อพ่อวัดไร่ขิง

และภายในโดมเจดีย์ ได้วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติไว้ให้ชมด้วย

วัดคีรีวงศ์ เป็นที่ตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดนครสวรรค์ ในความอุปถัมภ์ของ กรมการศาสนา เป็นที่ตั้งอุทยานการศึกษา ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ และเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ 1.

วัดคีรีวงศ์ watkiriwong

ไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์ นครสวรรค์

ตั้งต้นจาก เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ไปตามถนนรามคำแหง ผ่านซอยรามคำแหง 144 ผ่านโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

เวลา 06:26 น. ลอดใต้สะพาน ชิดซ้าย เข้าช่องทาง วนซ้ายขึ้นทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษก บางปะอิน ลำลูกกา

เวลา 06:37 น. ชิดขวา บางปะอิน

เวลา 06:41 น. จ่ายค่าผ่านทาง 30 บาทที่ด่านเก็บเงินธัญบุรี

เวลา 06:43 น. ชิดขวา บางปะอิน

เวลา 06:53 น. อีก 5 ก.ม.ถึงทางต่างระดับบางปะอิน เตรียมชิดซ้าย

เวลา 06:56 น. ชิดซ้าย เข้าทางต่างระดับ บางปะอิน อยุธยา เพื่อวนซ้ายเข้าถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32) แต่ถ้าพลาดชิดซ้ายไม่ได้ ให้ตรงไปช่องสระบุรี แล้ววนซ้ายลงถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ตรงไปสะพานกลับรถ ย้อนกลับมา ชิดขวาเข้าช่องอยุธยา ลอดใต้สะพาน แล้วชิดซ้าย บางปะอิน อยุธยา

เวลา 07:03 น. เลี้ยวซ้าย วนขวาเข้าถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32) เข้าช่อง อยุธยา นครสวรรค์

เวลา 07:04 น. เลี้ยวซ้าย อยุธยา นครสวรรค์

เวลา 07:06 น. เข้าช่อง อยุธยา นครสวรรค์

เวลา 07:56 น. ก่อนถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้า จ.อ่างทอง ให้หักพวงมาลัยชิดขวา ตรงไป นครสวรรค์ (ทางหลวงหมายเลข 32)

เวลา 08:16 น. ผ่านทางเลี้ยวซ้ายเข้า จ.สิงห์บุรี

เวลา 08:51 น. เข้าเขต จ.ชัยนาท มีป้ายบอกทางใหญ่ (อ.มโนรมย์ เลี้ยวซ้าย, จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ ตรงไป) ถึงทางแยก จุดสิ้นสุดทางหลวงหมายเลข 32 บรรจบทางหลวงพหลโยธิน หมายเลข 1

เวลา 08:53 น. สุดทางหลวงหมายเลข 32 เข้าสู่ทางหลวง พลโยธิน หมายเลข 1 เลยทางแยก มีป้ายบอกทางข้างถนน (อ.พยุหะคีรี 7 ก.ม., จ.นครสวรรค์ 34 ก.ม., จ.กำแพงเพชร 154 ก.ม.) ให้ตรงไป

เวลา 08:57 น. นครสวรรค์ ตรงไป

เวลา 09:09 น. ตรงไป นครสวรรค์

เวลา 09.17 น. ตรงไปข้ามสะพานเดชาติวงศ์ สุดเขตภาคกลางเข้าสู่ภาคเหนือ (จุดเริ่มต้นภาคเหนือตอนล่าง)

เวลา 09:18 น. ถึงป้ายใหญ่ (อ.โกรกพระ เลี้ยวซ้าย, จ.พิษณุโลก กำแพงเพชร ตรงไป, จ.นครสวรรค์ เลี้ยวขวา) ให้ตรงไป ผ่านแยกบิ๊กซี จนถึงป้าย (กำแพงเพชร ตาก ตรงไป, พิจิตร พิษณุโลก เลี้ยวขวา)

เวลา 09.19 น. ถึงสามแยกแล้วเลี้ยวขวา วนซ้ายตรงไป ถึงป้าย (กำแพงเพชร ตาก เลี้ยวซ้าย, พิจิตร พิษณุโลก ตรงไป, นครสวรรค์ เลี้ยวขวา) ถึงสี่แยกให้เลี้ยวขวาเข้าถนนมาตุลี แต่ถ้าพลาดเลี้ยวขวาไม่ได้ ให้ตรงไป กลับรถ

เวลา 09.23 น. กลับรถ แล้วชิดซ้าย ถึงทางแยก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมาตุลี ผ่านบิ๊กซี ตรงไป จนถึงซอยมาตุลี18 ให้เลี้ยวซ้าย ทางขึ้นเขาวัดคีรีวงศ์

ถึง พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์ เวลา 09:34 น.

หมายเหตู: ออก กรุงเทพฯ เวลา 06:26 น. ถึง วัดคีรีวงศ์ เวลา 09:34 น. สุทธิใช้เวลา 3 ชั่วโมง 08 นาที

รวมระยะทาง ไป-กลับ 580 ก.ม. ความเร็วไม่เกิน 110 ก.ม./ช.ม. ซดน้ำมัน E20 35 ลิตร เฉลี่ย 16.5 ก.ม./ลิตร พาหนะ All New Honda Jazz SV CVT ปีผลิต 2015

ขากลับ จากนครสวรรค์ แวะ จ.สิงห์บุรี ผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสิงห์บุรี จะมีป้าย (สิงห์บุรีชิดซ้าย) ให้ชิดซ้ายเตรียมขึ้นสะพาน วนขวาข้ามทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านทางแยกไกรสรราชสีห์ ตรงไปสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงทางแยก รพ.สิงห์บุรี มีป้ายบอกทางไปวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร นมัสการพระนอนจักรสีห์เป็นสิริมงคล และแวะไปวัดพิกุลทอง ซึ่งอยู่ถัดไปอีก 9 ก.ม. กราบสรีระหลวงพ่อแพ

ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
18 กันยายน 2559

วัดพระนอนจักรสีห์ วรวิหาร

เปิดบันทึกตำนาน ตอน หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

* * * * *

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ไปกิ๋นมาแล้ว..ลำขนาดเน้อ

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
17/17 ไปกิ๋นมาแล้ว..ลำขนาดเน้อ

ไปกิ๋นมาแล้ว..ลำขนาดเน้อ

"ข้าวซอยอำไพ(เจ้าเก่า)เมืองหละปูน"

"มื้อสายข้าวซอยอำไพ(รุ่นคุณลูกสาว) ที่ห้องแถวหน้าสถานีรถไฟเมืองหละปูน มื้อกลางวันก๋วยเตี๋ยว 3 บาทเมืองเจียงใหม่ปู้นนน....."

16:11 ใช้ถนนสายเก่า ถนนเชียงใหม่-ลำพูน หรือทางหลวงหมายเลข 106 ผ่านโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน

16:13 เลี้ยวขวา ไปสถานีรถไฟลำพูน (ตรงไป ไปเชียงใหม่)

ไปครั้งแรก 27 พ.ย. อดกินข้าวซอยมื้อเย็น เพราะร้านข้าวซอยอำไพหยุดขายทุกวันอาทิตย์

วันอังคาร 29 พ.ย. ไปอีกครั้ง วันนี้ร้านเปิดได้กินสมอยาก

10:27 ถึงร้านข้าวซอยอำไพ(เจ้าเก่า) สั่งข้าวซอยหมูตุ๋น 1 ชาม 40 บาท รสชาดไม่เปลี่ยนอร่อยเหมือนกินตอนเด็กๆสมัยคุณแม่วันดียังสาวๆโน่น ..อิอิ (ข้าวซอยไก่ ข้าวซอยเนื้อวัว ก็มีบริการจ้า)

สองภาพนี้..ขออนุญาตยืมมาจากอัลบั้มคุณ Suwit Soothijirapan ขอขอบคุณครับ

"ก๋วยเตี๋ยว 3 บาทเมืองเจียงใหม่"

วันพฤหัสฯ 30 พ.ย. มื้อกลางวัน วันนี้ไปกินที่ร้านก๋วยเตี๋ยว 3 บาท ยังจำได้ไหม ร้านที่นายกฯยิ่งลักษณ์ชวนไปกินนั่นแหละ

10:54 จากหน้าค่ายกาวิละ เชียงใหม่ ไปตามถนนเชียงใหม่-ลำพูน หรือทางหลวงหมายเลข 106 เลียบฝั่งแม่น้ำปิง ผ่านแยกถนนเจริญเมือง (ถ้าเลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานนวรัฐ เลี้ยวขวาไปสถานีรถไฟเชียงใหม่) ให้ตรงไป

10:56 ผ่านสี่แยกถนนแก้วนวรัฐ (ถ้าเลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานนครพิงค์ เลี้ยวขวาไปขนส่งอาเขต ซุปเปอร์ไฮเวย์หรือทางหลวงหมายเลข 11) ให้ตรงไป ผ่านท่าเรือหางแมงป่อง ผ่าน สนง.สรรพสามิตภาคที่ 5 จนถึงสี่แยก

10:59 เลี้ยวขวา ถนนรัตนโกสินทร์ (ถ้าเลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานรัตนโกสินทร์)

11:01 เลี้ยวซ้าย รัตนโกสินทร์ ซอย 1 (เงยหน้ามองป้ายติดไว้สูง ก๋วยเตี๋ยว 3 บาท ข้าวซอย 15 บาท)

สั่งก๋วยเตี๋ยว 9 ชามรวด ชามละ 3 บาทเหมือนเดิม (3 ชาม เท่ากับ 1 ชามกรุงเทพฯ) ตามด้วยข้าวซอย 1 ชาม ขึ้นราคาเป็นชามละ 25 บาท (โบราณว่ายัดทะนาน..อิอิ) รสชาดอร่อยเหมือนเดิมจ้ะ

11:44 กลับเส้นทางเดิมที่มาเมื่อตะกี้ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเชียงใหม่-ลำพูน ผ่าน สนง.สรรพสามิตภาคที่ 5 ผ่านท่าเรือหางแมงป่อง จนถึงสี่แยก

11:48 ถึงสี่แยก เลี้ยวขวา ขึ้นสะพานนครพิงค์ ไปจอดรถริมฝั่งแม่น้ำปิง เข้าตลาดต้นลำไย ซื้อผักผลไม้ แวะตลาดวโรรส ซื้อข้าวนึ่ง น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว จิ้นทอด แคบหมู กลับไปกินมื้อเย็นที่บ้าน"สวนเห็ดนงนุช"หละปูน.

* * * * *

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขึ้นดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
10/17 ขึ้นดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ 29พ.ย.2559

ขึ้นดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

ทางหลวงหมายเลข 108 เริ่มจากตัวเมืองเชียงใหม่ เส้นทางไป อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.ดอยหล่อ อ.จอมทอง

14:00 จุดเริ่มต้นใน อ.จอมทอง บนทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณหลัก ก.ม.57 ตรงป้ายบอกทาง แม่ฮ่องสอน-ตรงไป / ดอยอินทนนท์-เลี้ยวขวา

14:01 เลี้ยวขวา ทางหลวงหมายเลข 1009 (เริ่มต้น ก.ม.1 ไปสิ้นสุดบนยอดดอยอินทนนท์ รวมระยะทาง 46.7 ก.ม.)

14:53 ผ่านทะเลเมฆหมอกทึบ ต้องใช้ไฟตัดหมอกช่วยส่องจึงมองเห็นทาง

14:55 ผ่านทะเลเมฆหมอกทึบ ต้องใช้ไฟตัดหมอกช่วยส่องจึงมองเห็นทาง

15:03 ถึงยอดดอย ใช้เวลา 63 นาที (15:03-14:00=63)

สูงสุดแดนสยาม สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2565.3341 เมตร วันนี้(29พ.ย.59)ข้างล่าง 30 องศา ยอดดอย 13 องศา หนาวพอทนได้..อิอิ

15:31 ลงดอย

16:26 ถึงจุดเริ่มต้น ใช้เวลา 55 นาที (16:26-15:31=55)

หมายเหตุ: ถ้าไปจากลำพูน ใช้ทางหลวงหมายเลข 1015 เส้นทางไป อ.สันป่าตอง (ระยะทางจากแยกวัดมหาวันวรมหาวิหาร ต.เหมืองง่า ประมาณ 15 ก.ม.) ไปเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 108 ที่ อ.สันป่าตอง

► เทคนิคขับรถขึ้นเขาลงเขา ของชาวเกียร์ออโต้ แค่นี้ก็ขับรถอย่างปลอดภัย

หลักการขับรถขึ้นเขา

1. ให้ใช้เกียร์ D หรือ D2-D1 ขึ้นอยู่กับความชันน้อยหรือมาก โดยให้ใช้เกียร์ D2-D1 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้าง เมื่อรถอยู่ในทางราบ

2. เหยียบคันเร่งตามจังหวะความชัน พยายามให้รอบเครื่องอยู่ประมาณ 2,000-3,500 ควบคุมไม่ให้เกิน 4,500

3. ใช้ความเร็วเพียง 50-80 km/h ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องแข่งกับใคร ถ้ารถหลังรีบก็ให้ชิดซ้ายเพื่อเปิดทางให้เขาแซงไปก่อน

4. คุมระยะรถให้ห่างคันหน้าประมาณ 30-50 เมตร เพราะการเว้นระยะจะเผื่อไว้ในกรณีที่รถคันหน้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ขึ้นไม่ไหว หรือรถตายกลางทาง คุณจะได้มีโอกาสหลบเลี่ยงได้อย่างปลอดภัย ที่สำคัญการเว้นระยะจะทำให้คุณมีโอกาสเร่งรถขึ้นเขาได้สบายมากขึ้นด้วย

5. เมื่อต้องขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S ต้องมองให้ไกล มองให้ลึก เมื่อแน่ใจว่าทางว่าง และไม่มีรถสวนมาให้ จากนั้นให้ถอนคันเร่งลง แล้วเสียบตัดโค้งในแนวการขับให้เป็นเส้นตรงมากที่สุด

6. การขับในทัศนวิสัยที่ไม่ดี หรือเป็นทางโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา และต้องบีบแตรส่งสัญญาณก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวนมา

หลักการขับรถลงเขา

1. ให้ใช้เกียร์ D หรือ D2-D1 เช่นเดียวกันตอนขึ้นเขา และห้ามใส่เกียร์ว่าง 'N' ลงเขาเด็ดขาด! เพราะจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง โดยไม่มีแรงหน่วงของเครื่องยนต์ ที่สำคัญอย่าลืมควบคุมความเร็วของรถให้สัมพันธ์กับเกียร์ด้วย

2. ห้ามย้ำเบรกค้างนานๆ เพราะจะทำให้ผ้าเบรกไหม้ คุมรถไม่อยู่ หรือ "เบรกแตก" ได้ ให้แตะเบรกเบาๆเป็นช่วงๆให้รู้สึกว่ารถชะลอความเร็วลง

3. ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเหยียบคันเร่ง แต่ปล่อยให้รถลงมาเองด้วยเกียร์ D/D1-2

4. ก่อนเข้าโค้งหักศอกแล้วลาดลง ให้แตะเบรกลดความเร็วลงมาที่ 40-50 km/h ก็พอ

5. อย่าแซงรถใหญ่หรือรถบรรทุกหนักในช่วงทางลงเขาชัน เพราะรถพวกนี้จะมีอัตราเร่งสูงกว่ารถทั่วไป

การจะขับรถขึ้นเขาหรือลงเขาต้องอย่าลืมพกสติในการขับขี่ไปให้มากๆด้วย เพราะการขับรถเส้นทางเหล่านี้ไม่ใช่เส้นทางปกติที่คุณขับกันทุกวัน แต่เป็นการขับขี่บนเส้นทางที่มีความเสี่ยงสูง หากคุณประมาท โอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุก็ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายมากกว่าปกติ.

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Matichon Online

► อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

ทางหลวงหมายเลข 1009 เริ่มจากแยกทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณกิโลเมตรที่ 57 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตัดขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ลักษณะเส้นทางจะลาดชันขึ้นเรื่อยๆ มีระยะทางทั้งสิ้น 46.7 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาอินทนนท์ (ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565.3341 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร

ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ

ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7

ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง

แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า

ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแค้ ที่พบได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในโลก ที่ลำธารน้ำไหลแรงบนทิวเขาอินทนนท์ และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร ปัจจุบันมีสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว

* * * * *

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขึ้นดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
9/17 ขึ้นดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่ 28พ.ย.2559

ขึ้นดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เดินทางไปได้ ตามเส้นทางเลียบคลองชลประทาน

วัดพระธาตุดอยคำสร้างในสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า"วัดดอยคำ"

ขณะนั้นวัดดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ

วัดพระธาตุดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่ "ขอพรหลวงพ่อทันใจ"

เริ่มต้นจากทางลงดอยสุเทพ ถนนห้วยแก้ว ทางหลวงหมายเลข 1004 ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ผ่านสวนสัตว์เชียงใหม่ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เวลา 13:04 น. เลี้ยวขวาสี่แยกถนนไปอำเภอหางดง ทางหลวงหมายเลข 121 ถนนเลียบคลองชลประทาน

เวลา 13:07 น. ผ่านแยกแรก หางดง ตรงไป

เวลา 13:10 น. ผ่านแยกสอง หางดง ตรงไป

เวลา 13:14 น. ผ่านแยกสาม แวะกินข้าว 30 นาที

เวลา 13:45 น. ผ่านแยกสี่ ชญยล วิว

เวลา 13:48 น. ผ่านแยกห้า วัดพระธาตุดอยคำ, อ.หางดง ตรงไป

เวลา 13:52 น. ถึงแยกหก เลี้ยวขวาไป เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

เวลา 13:53 น. ถึงป้ายบอกทาง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตรงไป, เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เลี้ยวซ้าย, วัดพระธาตุดอยคำ เลี้ยวขวา

เวลา 14:00 น. ถึงวัดพระธาตุดอยคำ ตรงไปลานจอดรถ

เวลา 14:47 น. ลงดอย

เวลา 15:02 น. ถึงทางแยก เลี้ยวขวาไป อ.สันป่าตอง




* * * * *

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
6/17 ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ 28-11-2559
7/17 Bird’s eyes view วัดพระธาตุดอยสุเทพ
8/17 ขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ 28พ.ย.2559

ขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

เวลา 10:16 เริ่มต้นจากหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนห้วยแก้ว ทางหลวงหมายเลข 1004 ผ่านสวนสัตว์เชียงใหม่ เลี้ยวขวาขึ้นดอยสุเทพ

เวลา 10:19 เลี้ยวซ้ายทางเข้าน้ำตกห้วยแก้ว แวะกราบอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญล้านนาไทย ผู้สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ

เวลา 10:34 วนขวา เลี้ยวซ้ายขึ้นดอยสุเทพ

เวลา 10:55 ถึงยอดดอยสุเทพ ใช้เวลา 21 นาที (10:55-10:34=21)

เวลา 12:39 ลงดอย ใช้เวลา 19 นาที (12:58-12:39=19)

เวลา 12:58 ผ่านสวนสัตว์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร (คำเมือง: ) พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา มีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสามรอบ แล้วล้มลง

พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น

ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ

ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูน ได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร (คำเมือง)

@ คลิกดู(คำเมือง)ที่นี่.. วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

* * * * *

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขึ้นดอยวัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
5/17 ขึ้นดอยวัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน 27พ.ย.2559

ขึ้นดอยวัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน

12:34 เริ่มต้นจาก อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี สวนสาธารณะหนองดอก ผ่านวิทยาลัยเทคนิคลำพูน ไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ลงใต้มุ่งสู่อำเภอป่าซาง (ขาไปภาพไม่ค่อยชัดเพราะกล้องหน้ารถถ่ายย้อนแสง)

12:58 ถึงป้ายบอกทาง เลี้ยวซ้ายเข้าวัดซึ่งเป็นทางตรงมองเห็นยอดเจดีย์บนดอยแต่ไกล ซึ่งเป็นภาพประทับใจที่สวยงาม ตรงมณฑปมีบันไดทอดขึ้นไปสู่พระเจดีย์ สร้างด้วยศิลาทั้งหมด สองข้างบันใดเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรมีลำตัวทอดยาวตั้งแต่เชิงบันใดบริเวณพระธาตุ มีความยาว 469 ขั้น

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่หมู่ 6 บ้านพระบาท ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2516 และได้รับการยกฐานะเป็นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2521 ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 175 ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่ใกล้ดอย 2 ลูกคือ ดอยช้างและดอยเครือ อยู่ห่างจากเมืองลำพูนประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน

13:02 ถึงวัดตรงไปกราบนมัสการหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือน ท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก เป็นหุ่นที่ปั้นเท่าองค์จริงสร้างเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2527 (ก่อนท่านครูบามรณภาพเพียงสองวัน) ประดิษฐานไว้กลางกุฏิไม้สักหลังใหม่ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นกุฏิที่พักของท่านครูบา ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของท่านครูบา และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงพระธาตุของพระสาวกของพระพุทธเจ้า

13:35 ขึ้นดอยนมัสการพระธาตุเจดีย์ 4 ครูบา

พระสุพรหมยานเถระ (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) ได้เคยปรารภให้ศิษย์ฟังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ว่า อยากจะสร้างพระธาตุเจดีย์สักองค์บนยอดดอยเครือ ซึ่งเป็นดอยที่ตั้งอยู่หลังวัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้ปรารภอีกหลายครั้ง อันแสดงถึงความตั้งใจที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์บนดอยเครือ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยท่านได้ให้แนวคิดว่า เมื่อมองแต่ไกลสามารถมองเห็นยอดเจดีย์ให้ตรงกับมณฑปมีบันไดทอดขึ้นไปสู่พระเจดีย์ก็จะเกิดความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง และครั้งสุดท้ายท่านก็ ปรารภที่จะสร้างและให้รีบดำเนินการขอเช่าดอยเครือจากกรมป่าไม้ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะถึงมรณภาพเพียงสองวัน คือในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2527 อันเป็นวันมรณภาพของท่านครูบา

คณะศิษย์โดยมี ท่านพระครูเวฬุวันพิทักษ์ (พระมหาเขื่อนคำ อตฺตสนฺโต) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า ได้สนองเจตนารมณ์ของท่านครูบา ท่านรับเป็นประธานในการก่อสร้าง ออกแบบแปลน และหาทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอยอย่างสูงสุด รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระธาตุ 4 ครูบา ได้นำแบบมาจากโบราณสถานซึ่งกอร์ปด้วยศิลปะอันทรงคุณค่าหลายแห่งเข้าด้วยกัน ดังนี้

1. องค์พระเจดีย์ ได้นำรูปแบบมาจากพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน มีลักษณะเป็นรูปทรงระฆังแบบล้านนา ที่สวยงามห่อหุ้มทองแดง(ทองจั๋งโก๋) ก่อนปิดทองจริง

2. ซุ้มใหญ่ภายใน ได้นำรูปแบบมาจากพระบรมธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และแบบพระเจ้าล้านทอง จังหวัดลำปาง

3. ซุ้มประตูเข้าสู่ลานพระเจดีย์ ได้นำรูปแบบมาจากซุ้มประตูวัดพระธาตุลำปางหลวงจังหวัดลำปาง ประตูใช้ไม้สักทอง แกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม ส่วนยอดของพระเจดีย์ ได้บรรจุของมีค่า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในส่วนทรงระฆัง ด้านบน ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนับหมื่นองค์

13:42 ถึงยอดดอย

ส่วนฐานของเจดีย์ เป็นทรงระฆังใหญ่ มีประตูเข้าทั้ง 4 ด้าน ข้างในเป็นโถงใหญ่ ตั้งมณฑปตรงกลางภายใน ได้ประดิษฐานรูปหล่อของ 4 ครูบาไว้ ทิศละรูป พร้อมบรรจุอัฐิของแต่ละครูบาไว้ในองค์รูปหล่อเหมือนของแต่ละรูปด้วย อันเป็นที่มาของชื่อ พระธาตุเจดีย์ 4 ครูบา ประกอบด้วย

ทิศตะวันออก ประดิษฐานรูปหล่อของ ครูบาพ่อเป็ง โพธิโก (บิดา) วัดนครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ชาตะ พ.ศ.2405 มรณภาพ พ.ศ.2495 สิริอายุได้ 90 ปี พรรษา 28

ทิศใต้ ประดิษฐานรูปหล่อของ พระสุธรรมญาณเถร (ครูบาอินทจักรรักษา) (พี่ชาย) วัดวนาราม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ชาตะ พ.ศ.2539 มรณภาพ พ.ศ.2521 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษา 62

ทิศเหนือ ประดิษฐานรูปหล่อของ พระสุพรหมญาณเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ชาตะ พ.ศ.2441 มรณภาพ พ.ศ.2527 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษา 67

ทิศตะวันตก ประดิษฐานรูปหล่อของ พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ) (น้องชาย) วัดดอยน้อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ชาตะ พ.ศ.2443 มรณภาพ พ.ศ.2503 สิริอายุได้ 60 ปี พรรษา 40

ความดำริของท่านครูบา ได้สำเร็จสมดังความปรารถนาทุกประการ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมายกยอดฉัตรพระเจดีย์ เมื่อวันที่ 15 กุมพาพันธ์ พ.ศ.2531 เวลา 9.00 น.

14:24 ลงดอย

14:29 เลี้ยวซ้าย

14:32 เลี้ยวขวา

14:33 ขับเลยทางเข้า ต้องกลับรถ เลี้ยวขวาวนเที่ยวบ้านมะกอก 1 รอบ

14:42 เลี้ยวซ้ายกลับลำพูน แวะตลาดหนองดอกกินข้าวมื้อค่ำ แล้วขับรถวนรอบเมือง ดูความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

17:00 ถึงบ้าน "สวนเห็ดนงนุช" (ขากลับภาพสองข้างทางชัดเจนเพราะกล้องหน้ารถถ่ายตามแสง)

* * * * *

@ คลิกอ่านที่นี่.. ประวัติวัดพระพุทธบาทตากผ้า

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ถึงลำพูนบ่ายสี่ ไหว้พระธาตุหริภุญชัยเป็นสิริมงคล

** คลิกดูคลิป PlayList ชี้แนะเส้นทาง เที่ยวไปกับjazz..... **
1/17 Bird’s eyes view วัดพระธาตุหริภุญชัย
2/17 ถึงลำพูนบ่ายสี่ ไหว้พระธาตุหริภุญชัยเป็นสิริมงคล 26-11-2559
3/17 ควบjazzปิ๊กหละปูน..
4/17 บ้านเฮา..แสนสุขใจ๋ หวยมันวนออกก้าเลขนี้ เจ้าของบ่ถึกสักเต้อ

ควบjazzปิ๊กหละปูน..
ถึงลำพูนบ่ายสี่ ไหว้พระธาตุหริภุญชัยเป็นสิริมงคล

"..ออก กรุงเทพฯ เวลา 06:20 น. ถึง ลำพูน เวลา 16:00 น. สุทธิใช้เวลา 10 ชั่วโมง 40 นาที.."

ตั้งต้นจาก เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ไปตามถนนรามคำแหง ผ่านซอยรามคำแหง 144 ผ่านโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

เวลา 06:20 น. ลอดใต้สะพาน เลี้ยวซ้ายขึ้นทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษก บางปะอิน ลำลูกกา

เวลา 06:37 น. จ่ายค่าผ่านทาง 30 บาท ที่ด่านเก็บเงินธัญบุรี

เวลา 06:49 น. อีก 5 ก.ม.ถึงทางต่างระดับบางปะอิน

เวลา 06:51 น. เตรียมชิดซ้าย เข้าช่อง บางปะอิน อยุธยา (ภาคเหนือ นครสวรรค์ เชียงใหม่)

เวลา 06:52 น. ถึงบางปะอิน เลี้ยวซ้าย เข้าช่อง บางปะอิน อยุธยา

เวลา 06:54 น. เข้าช่อง อยุธยา บางบัวทอง วนขวาเข้าถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32)

เวลา 06:55 น. เข้าช่อง อ.บางปะอิน อยุธยา นครสวรรค์ แล้วชิดซ้าย

เวลา 06:56 น. เลี้ยวซ้ายไป อยุธยา นครสวรรค์

เวลา 07:59 น. ก่อนถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้า จ.อ่างทอง ให้หักพวงมาลัยชิดขวา ตรงไป นครสวรรค์ (ทางหลวงหมายเลข 32)

เวลา 08:15 น. ผ่านป้ายทางเข้าวัดอัมพวัน (หลวงพ่อจรัญ)

เวลา 08:17 น. ผ่านป้ายทางเข้าวัดพิกุลทอง (หลวงพ่อแพ)

เวลา 08:20 น. ผ่านทางเลี้ยวซ้ายเข้า จ.สิงห์บุรี

เวลา 08:55 น. เข้าเขต จ.ชัยนาท มีป้ายบอกทางใหญ่ (อ.มโนรมย์ เลี้ยวซ้าย, จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ ตรงไป) ถึงทางแยก จุดสิ้นสุดทางหลวงหมายเลข 32

เวลา 08:57 น. สุดทางหลวงหมายเลข 32 เข้าสู่ทางหลวง พลโยธิน หมายเลข 1 เลยทางแยก มีป้ายบอกทางข้างถนน (อ.พยุหะคีรี 7 ก.ม., จ.นครสวรรค์ 34 ก.ม., จ.กำแพงเพชร 154 ก.ม.) ให้ตรงไป

เวลา 09:01 น. นครสวรรค์ ตรงไป

เวลา 09:23 น. ตรงไปข้ามสะพานเดชาติวงศ์ สุดเขตภาคกลางเข้าสู่ภาคเหนือ (จุดเริ่มต้นภาคเหนือตอนล่าง)

เวลา 09:24 น. ถึงป้ายใหญ่ (อ.โกรกพระ เลี้ยวซ้าย, จ.พิษณุโลก กำแพงเพชร ตรงไป, จ.นครสวรรค์ เลี้ยวขวา) ให้ตรงไป ผ่านแยกบิ๊กซี จนถึงป้าย (กำแพงเพชร ตาก ตรงไป, พิจิตร พิษณุโลก เลี้ยวขวา)

เวลา 09:49 น. ถึงสามแยก ให้ตรงไป (กำแพงเพชร ตาก ตรงไป)

เวลา 11:08 น. ถึงทางแยกเข้ากำแพงเพชร เข้าช่อง ตาก ตรงไป

เวลา 12:21 น. ถึงตาก เลี้ยวซ้ายไป ตาก ลำปาง

เวลา 13:38 น. ถึงเถิน

เวลา 14:47 น. ถึงลำปาง เลี้ยวซ้าย ใช้เส้นทางหมายเลข 11 (ลำพูน เชียงใหม่ เลี้ยวซ้าย)

เวลา 15:33 น. ผ่านดอยขุนตานไหว้ขอพรเจ้าพ่อขุนตานขอให้ลูกช้างเดินทางไป-กลับโดยสวัสดิภาพ

เวลา 16:10 น. ลำพูน ตรงไป

เวลา 16:12 น. ข้ามสะพานท่าขาม เลี้ยวขวาตรงไปวัดพระธาตุหริภุญชัย

เวลา 16:14 น. ถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย ไหว้พระธาตุหริภุญชัยเป็นสิริมงคล

เวลา 17:08 น. เลี้ยวขวากลับสะพานท่าขาม ตรงไปตลาดหนองดอก

เวลา 17:22 น. ถึงบ้าน "สวนเห็ดนงนุช"

ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
26 พฤศจิกายน 2559

สรุป: "ควบjazzปิ๊กหละปูน" 26พ.ย.-1ธ.ค.2559

ทางหลวงที่ใช้:

1. กรุงเทพฯ-บางปะอิน ใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ทางด่วนกาญนาภิเษก)

2. บางปะอิน-ชัยนาท ใช้ทางหลวงหมายเลข 32

3. ชัยนาท-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เถิน-ลำปาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1

4. ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 11

สภาพถนนและการจราจร: ให้คะแนนดีเยี่ยม 99% มีส่วนเสีย 1% เป็นการปิดถนนซ่อมบำรุงเป็นระยะๆ ต้องวิ่งสวนเลนเข้าแถวตามกันแซงไม่ได้ (แต่แอบแซง..อิอิ)

พาหนะ: All New Honda Jazz SV CVT ปีผลิต 2015

ภาพรวม: ระยะทางทั้งหมด 2,000 ก.ม. ความเร็วไม่เกิน 110 ก.ม./ช.ม. ซดน้ำมัน E20 150 ลิตร เฉลี่ย 13 ก.ม./ลิตร

ภาพแยก:

- ระยะทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมทั้งหมด 1,400 ก.ม. ความเร็วไม่เกิน 110 ก.ม./ช.ม. ซดน้ำมัน E20 60 ลิตร เฉลี่ย 23 ก.ม./ลิตร

- ระยะทาง ไป-กลับ รอบเมืองลำพูน ไปวัดพระธาตุหริภุญชัย ไป อ.ป่าซาง ขึ้นลงดอยพระพุทธบาทตากผ้า .. รอบเมืองเชียงใหม่ ขึ้นลงดอยวัดพระธาตุดอยสุเทพ ขึ้นลงวัดดอยคำ ไป อ.สันป่าตอง อ.จอมทอง ขึ้นลงดอยอินทนนท์ กลับลำพูน รวมทั้งหมด 600 ก.ม. ความเร็วไม่เกิน 110 ก.ม./ช.ม. ซดน้ำมัน E20 90 ลิตร เฉลี่ย 7 ก.ม./ลิตร

ใช้เวลาเดินทาง: กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 12 ชั่วโมง

06:00 จากบ้านเคหะร่มเกล้า ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

06:20 ผ่านซอยรามคำแหง144 ผ่านเตรียมอุดมน้อมเกล้า ชิดซ้ายขึ้นทางด่วนกาญนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข9)

07:00 พักกินข้าวเช้าที่บางปะอิน

09:00 ถึงนครสวรรค์

12:00 ถึงตาก

15:00 ถึงลำปาง

16:14 ถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน

17:22 ถึงบ้าน "สวนเห็ดนงนุช"

18:00 ถึงเชียงใหม่

หมายเหตุ: จ่ายค่าผ่านทางด่วนกาญนาภิเษก ไป-กลับ 60 บาท .. ตลอดเส้นทาง แวะกินลมชมวิวพักคลายเมื่อยปั๊ม ปตท. ขอบคุณ จนท.ดูแลห้องน้ำสะอาดถูกใจมากๆๆ...

ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
6 ธันวาคม 2559

ประวัติเมืองหริภุญชัย และ
ตำนานเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัย

"ลำพูน" หรือ "หละปูน" หรือชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณกาลว่า "หริภุญชัย" เป็นเมืองที่สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1200 โดย "วาสุเทพฤๅษี" ได้เกณฑ์พวก "เมงคบุตร" เชื้อสายมอญมาสร้างบนผืนแผ่นดินระหว่าง "แม่น้ำปิง" และ "แม่น้ำกวง"

เมื่อสร้างเมือง "หริภุญชัย" เสร็จ เนื่องจาก "วาสุเทพฤๅษี" เป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ (การเข้าฌาน) จึงได้ไปเชิญหน่อกษัตริย์จากเมือง "ละโว้" มาปกครองเมืองแทน

"พระยาจักวัติ" ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเมืองละโว้ในขณะนั้นไม่ทรงมีราชโอรส จึงได้ส่งราชธิดา คือ "พระนางจามเทวี" มาแทน พระนางจึงเป็นกษัตริย์ครองเมือง "หริภุญชัย" เป็นองค์แรก ซึ่งบ้านเมืองได้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง และมีกษัตริย์ปกครองเมืองสืบต่อมาอีกหลายราชวงศ์

จำเนียรกาลผ่านไป ล่วงมาถึงปีพุทธศักราช 1440 กษัตริย์ผู้ครองเมือง "หริภุญชัย" ลำดับที่ 33 คือ "พระยาอาทิตยราช" แห่งราชวงศ์รามัญ โดยมี "พระนางปทุมวดี" เป็นอัครมเหสี บ้านเมืองได้เกิดศึกสงครามหลายครั้งหลายครา แต่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ จึงทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปทุกคราว

"พระยาอาทิตยราช" จึงทรงสร้างปราสาทราชมณเฑียรขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และได้สร้างหอจัณฑาคารที่ลงพระบังคน (ที่ถ่ายทุกข์หนักทุกข์เบา) ไว้ใกล้ปราสาทนั้นด้วย

แต่ทุกครั้งที่พระองค์เสด็จลงพระบังคนที่หอจัณฑาคารนั้น จะมีกาบินโฉบไปโฉบมาเป็นที่น่ารำคาญอยู่เสมอ เพื่อมิให้เสด็จไปใช้ จนพระองค์กริ้ว และรับสั่งให้อำมาตย์ราชบุรุษให้ช่วยกันจับกาตัวนั้นให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังจับกาไม่ได้เสียที จนเป็นที่ประหลาดพระทัยยิ่งนัก จึงมีรับสั่งให้ทำพิธีบวงสรวงเทพยดาที่เฝ้ารักษาเมือง "หริภุญชัย" ให้ช่วยดลบันดาล และต่อมาก็จับกาตัวนั้นได้

ณ ราตรีกาลนั้น "พระยาอาทิตยราช" ทรงพระบรรทมอยู่ เทพยดาได้มาเข้าสุบินนิมิตว่า "ถ้าพระองค์ใคร่ทรงทราบเหตุที่มีอยู่ใน "ถาน" ที่นี้ไซร้ ให้พระองค์จงทรงนำเด็กทารกที่เกิดได้ 7 วันมาไว้อยู่ใกล้กา 7 วัน แล้วนำออกมาไว้กับคน 7 วัน สลับกันเช่นนี้นานประมาณ 7 ปี แล้วให้พระองค์มีรับสั่งให้เด็กน้อยนั้นถามกาดู พระองค์ก็จะทรงทราบเหตุที่มีอยู่ใน "ถาน" ที่นี้อย่างแท้จริง"

ครั้นทรงตื่นจากพระบรรทม จึงมีรับสั่ง..........

@ คลิกอ่านต่อที่นี่.. ประวัติเมืองหริภุญชัย และ ตำนานเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัย, พระธาตุประจำปีเกิด 12 ปีนักษัตร

* * * * *